วันอาทิตย์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2563

ระบบ AS/RS

ระบบจัดการและเรียกคืนวัสดุอัตโนมัติ AS/RS
เทคโนโลยีคลังสินค้าอัตโนมัติ AS/RS
คลังสินค้าอัตโนมัติ หรือ Automated Storage/Retrieval System (AS/RS) เทคโนโลยีประเภทนี้มักใช้ในขนย้ายวัสดุ โดยการนำไปจัดเก็บ (store) และนำวัสดุออก (retrieve) แบบอัตโนมัติจากที่จัดเก็บ (storage rack) โดยมีตำแหน่ง/บริเวณที่เครื่อง AS/RS มารับวัสดุไปจัดเก็บ (pickup station) และจุดวัสดุจากที่จัดเก็บไปส่งเมื่อวัสดุนั้นถูกเรียกใช้ (deposit station) อย่างชัดเจน


อุปกรณ์แบบ AS/RS เหมาะกับงานที่ต้องการการจัดเก็บและเรียกใช้วัสดุ หลากหลายแบบ ในที่จัดเก็บ Storage Rack หนาแน่นมากๆ
การเลือกใช้อุปกรณ์แบบ AS/RS ขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของพื้นที่จัดเก็บ ความถี่ในการจัดเก็บและเรียกใช้วัสดุ โดยจะมีทั้งแบบ
▪️ใช้ AS/RS เครื่องเดียวต่อกับการจัดเก็บ 1 ช่องทาง (aisle)
▪️ใช้ AS/RS เครื่องเดียวต่อกับการจัดเก็บหลายช่องทาง
▪️ใช้ AS/RS หลายเครื่องในการจัดเก็บ 1 ช่องทาง
ปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการจัดเก็บและเรียกใช้ของอุปกรณ์แบบ AS/RS จะพิจารณาจากโครงสร้างของที่จัดเก็บ (Storage Rack) ความเร็วในการเคลื่อนของอุปกรณ์ AS/RS ทั้งในแนวดิ่งและแนวราบ

ระบบ AS/RS แบ่งออกเป็นแบบต่าง ๆ ดังนี้
- Unit Load AS/RS
- Miniload AS/RS
- Man-on-Board AS/RS หรือ Manaboard AS/RS
- Automated Item Retrieval System
- Deep-Lane AS/RS
องค์ประกอบพื้นฐานของระบบ AS/RS
1. โครงสร้างที่เก็บวัสดุ (Storage Structure)
2. เครื่อง S/R (Storage/Retrieval Machine)
3. หน่วยของการเก็บวัสดุ (Storage Module)
4. สถานีหยิบและฝากวัสดุ (Pickup and Deposit Station)

อุปกรณ์พิเศษของระบบ AS/RS
1. รถเคลื่อนย้ายช่องทางขนส่งวัสดุ (Aisle Transfer Car)
2. อุปกรณ์ตรวจสอบถังบรรจุวัสดุว่างเปล่า/เต็ม
3. สถานีวัดขนาดโหลด (Sizing Station)
4. สถานีบ่งชี้โหลด (Load Identification Station)
การประยุกต์ใช้ระบบ AS/RS
การแยกใช้งานของระบบ AS/RS ออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1. จัดเก็บและเรียกคืน Unit Load
2. หยิบวัสดุตามสั่ง (Order picking)
3. ระบบจัดเก็บวัสดุระหว่างกระบวนการ
การจัดเก็บวัสดุระหว่างกระบวนการ
1. ใช้เก็บชุดของชิ้นงานประกอบ
2. สนับสนุนการผลิตแบบ JIT
3. ใช้เป็นบัฟเฟอร์สำหรับจัดเก็บวัสดุ
4. สามารถใช้งานร่วมกันกับระบบบ่งชี้ชิ้นงานแบบอัตโนมัติ
5. ทำให้เกิดการควบคุมและการติดตามวัสดุอย่างมีประสิทธิภาพ
6. สนับสนุนการทำให้เกิดการทำงานแบบอัตโนมัติทั้งโรงงาน

ข้อดีของเทคโนโลยี AS/RS
1. ลดพื้นที่ในการจัดเก็บสินค้า
2. ลดพื้นที่ในการขนถ่ายสินค้า
3. เพิ่มปริมาณการจัดเก็บสินค้า
4. เพิ่มประสิทธิภาพในการเบิกจ่ายสินค้าทำงานรวดเร็ว แม่นยำ
5. บริหารทรัพยากรบุคคล
6. ประหยัดพลังงานไฟฟ้า และมีความปลอดภัยในการทำงาน
ข้อเสียของเทคโนโลยี AS/RS
1. ใช้งบลงทุนและงบดำเนินการสูง
2. ต้องใช้บุคลากรผู้เชี่ยชาญเฉพาะในการควบคุม และปฏิบัติงาน
3. ต้องใช้ข้อมูลด้านคลังสินค้าเป็นจำนวนมากในการป้อนเข้าระบบ
4. รูปแบบการจัดเก็บควรมีลักษณะ (Dimension) ของสินค้าเหมือนๆกัน

บริษัทที่ประยุกต์ใช้ ASRS ในประเทศไทย เช่น
บริษัททรัพย์ศรีไทย ใช้เพื่อเก็บเอกสารต่าง ๆ
บริษัทเอสซีจีโลจิสติกส์ ใช้เพื่อเก็บและจ่ายสินค้าต่างๆ
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ใช้เพื่อเก็บสินค้าสนามบิน

สรุป
    โรงงานอุตสหกรรมขนาดใหญ่ มีความจำเป็นที่ต้องนำระบบการจัดเก็บและเรียกคืนวัสดุอัตโนมัติเข้ามาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและ มีคว่ทคล่องตัวสูงในการเรียกสินค้าเพื่อรวดเร็วในการจัดส่งให้ลูกค้าได้อย่างทันเวลา และสามารถลดต้นทุนทางด้านบุคลากรได้เป็นอย่างดี แต่อาจจะมีค่าใช้จ่ายสูงในการติดตั้งครั้งแรก และการดูแลรักษา 


วันอาทิตย์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2563

ระบบขนถ่ายวัสดุอัตโนมัติ

      สายพานลำเลียง Belt Conveyor 

       คือ ระบบสายพานลำเลียงที่ใช้สายพานเป็นวัสดุประเภท PVCPU หรืออาจเป็นวัสดุอื่นๆ ที่เป็นฟู้ดเกรด (Food Grade) เมื่อใช้กับอาหาร, สายพานประเภทนี้จะเป็นที่นิยมใช้งานโดยทั่วไป เนื่องจากใช้ลำเลียงวัตถุได้หลากหลายประเภท รวมทั้งอาหาร พื้นผิวของสายพานจะมีทั้งแบบผิวเรียบ ผิวไม่เรียบ และแบบที่ติดโปรไฟล์กั้นเป็นบล็อคๆ สามารถใช้ลำเลียงได้ทั้งในแนวระนาบ และลาดชัน  

  ระบบโซ่ลำเลียง

       ชุดสายพานโซ่มักจะใช้ขนถ่ายวัสดุที่เป็นก้อน หรือชิ้น ห่อ ส่งได้ทั้งในแนวระนาบและแนวลาดที่รับแรงกระแทกจากโหลดวัสดุได้ดี ใช้งานได้ดีโดยไม่ต้องตรวจตราบ่อย สามารถส่งชันขึ้นได้มากกว่าระบบโซ่แขวนใช้มากกับงานขนถ่ายที่ขนติดต่อกันเรื่อยไปอย่างสม่ำเสมอ ไม่เหมาะกับการขนถ่ายวัสดุปริมาณมวล 
     - สายพานข้อโซ่ (Chain Link Conveyor)
     - สายพานแผ่นโซ่ (Chain Plate Conveyor)
     - สายพานรางกวาด (Chain Flight Conveyor)
     - ระบบโซ่แขวนลำเลียง (Overhead Chain Conveyor)


ระบบสายพานลำเลียง 
     ระบบสายพานลำเลียง ใช้สำหรับขนถ่ายวัสดุปริมาณมวล และวัสดุก้อนโต หรือหีบห่อ ทั้งในแนวราบและแนวลาดเอียง สร้างได้หลายลักษณะ คือ แบบติดตาย-เคลื่อนย้ายที่ได้ หรือสายพานแบบราบ-สายพานแบบแอ่ง มีขีดความสามารถสูง ระยะทางขนถ่ายได้ไกล สร้างได้ง่าย ไม่ต้องการงานบำรุงรักษามากนัก ความสึกหรอต่ำและใช้กำลังขับค่อนข้างต่ำ ข้อจำกัดที่สำคัญได้แก่ความชันลาดขึ้นของสายพาน หากจะต้องขนถ่ายที่ความชันราบถึง 45 องศา จะต้องสร้างผิวสายพานให้มีแผ่นกั้นวัสดุไหล และไม่ควรใช้ขนถ่ายวัสดุที่กำลังร้อน

ระบบสายพานลำเลียงแบบแผ่นระนาด

เป็นระบบที่สามารถรองรับชิ้นงานที่มีน้ำหนักมากและมีจำนวนมาก รวมถึงระบบนี้ยังมีความทนทานสูง เนื่องจากแผ่นระนาดทำด้วยวัสดุอย่างดี และตัวโครงสร้างก็ทำจากเหล็กคุณภาพสูง ทำให้ไม่ต้องเสียค่าใข้จ่ายในการซ่อมบำรุงบ่อยๆ


ระบบสายพานลำเลียง   Daifuku สามารถออกแบบการจัดเรียงได้หลายรูปแบบเพื่อให้เหมาะกับตำแหน่งของการจัดส่งและการผลิต ซึ่งจำนวนและปริมาณจะมีขนาดเล็กลงเพื่อสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคที่หลากหลายและซับซ้อน ผลิตภัณธ์ของเราไม่ได้พัฒนาเพียงแค่ประสิทธิภาพอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังมีบริการจัดส่งที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพว่าสินค้าจะไม่ได้รับความเสียหาย นอกจากนี้ เรายังมีระบบขนส่งที่ตรงตามความต้องการให้อุปกรณ์กึ่งตัวนำมีขนาดเล็กลงและความต้องการแผ่นกระจกที่ใสบริสุทธิ์ ระบบอัตโนมัติสำหรับโรงงานผลิตรถยนต์ในทุก ๆ กระบวนการและระบบสายพานสำหรับการขนถ่ายกระเป๋าสัมภาระที่สนามบิน Daifuku มุ่นมั่นที่จะปรับปรุงโลจิสติกส์ให้ดียิ่งขึ้นโดยการลดระยะเวลาและต้นทุน เราพร้อมนำเสนอสายพานหลากหลายประเภทได้แก่ สายพานโซ่สำหรับสินค้าที่มีน้ำหนักมาก สายพานแบบล้อหมุนสำหรับกล่อง สายพานสำหรับการรวบรวมและ สายพานลำเลียงแบบเอียง ผลิตภัณธ์ของเราสามารถปรับให้เหมาะสมกับลักษณะเฉพาะตัวและความต้องการการติดตั้งตามการทำงานของลูกค้าได้อย่างลงตัว สายพานส่วนต่าง ๆ จะประกอบรวมกันเป็นระบบขนส่งที่ดีที่สุดโดยการผสานรวมกันระหว่างการจัดเก็บแบบอัตโนมัติและอุปกรณ์ทำงานภายในระบบ เช่น อุปกรณ์สำหรับการคัดแยกและหยิบจับ

AGV
(Automated Guided Vehicle System หรือ AGVS)  

        รถขนส่งเคลื่อนที่อัตโนมัติ AGV มีหลายชนิดให้เลือกตามความเหมาะสมของการใช้งานตั้งแต่ การใช้งานแบบลากจูง container ,แบบยก container จนถึงแบบรถยก (Forklift) ในลักษณะต่างๆ โดยมีระบบควบคุมเส้นทางและนำทางการขับเคลื่อน (The Vihicle Navigation & Guidance System) ด้วยการเหนี่ยวนำของสนามแม่เหล็กที่ฝังอยู่ในพื้นผิวทางเดินรถ AGV หรือแบบควบคุมโดยการ ตรวจจับด้วยแสงเลเซอร์เพื่อให้รถ AGV สามารถเคลื่อนที่ไปตามเส้นทางที่กำหนดได้
 
เป็น ผลดี ด้านจิตวิทยา ทำให้บริษัทก้าวทันยุค เทียบเท่ากับบริษัทระดับโลก ซึ่งใช้ระบบAutomation  มานานนับทศวรรษแล้ว ในการติดต่อกับลูกค้า โดยเฉพาะบริษัททีมีการติดต่อกับต่างประเทศ

                            การใช้งาน รถ AGV โดยการส่งสัญญาณผ่าน Wireless 



การใช้งานรถ AGV รถขนส่งอัตโนมัติ




เครื่องจักร NC DNC CNC

เครื่องจักร NC

NC  ย่อมาจาก Numerical Control หมายถึงการควบคุมการทำงานของเครื่อง NC ด้วยคำสั่งเชิงตัวเลขและตัวอักษรที่ถูกสร้างขึ้นมาในรูปของคำสั่งซึ่งก็คือ โปรแกรม NC. ระบบ NC ซึ่งนำมาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตของสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ.1950 ซึ่งส่วนมากจะถูกนำมาใช้ในการควบคุมการทำงานของเครื่องมือกลเป็นส่วนใหญ่.ในปัจจุบันระบบ NC จะถูกแทนที่ด้วยระบบ CNC เกือบทั้งหมด ทั้งนี้เนื่องจากว่าในระบบ NC ไม่มีคอมพิวเตอร์ เข้ามาช่วยในการทำงาน  อีกทั้งเครื่องจักรที่ถูกควบคุมด้วย NC  ก็ไม่มีการผลิตออกมาใช้งานแล้ว

เครื่องจักร DNC


              Distribution Numerical Control: DNC คือระบบที่มีคอมพิวเตอร์กลางในการติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนและกระจายข้อมูลซึ่งในที่นี้คือ โปรแกรม NC Data กับหน่วยควบคุม NC ของเครื่องจักรกลระบบ CNC แต่ละตัวได้เพื่อเป็นศูนย์กลางในการบริการข้อมูลทั้งรับข้อมูล และส่งข้อมูลจำเพราะให้กับเครื่องจักรกลระบบ CNC แต่ละเครื่องในเครือข่ายตามที่แต่ละเครื่องต้องการพร้อมๆ กันได้ในเวลาเดียวกัน

เครื่องจักร CNC

CNC ย่อมาจากคำว่า Computer Numerical Control หมายถึง การควบคุมการทำงานของเครื่องจักรด้วยคำสั่งเชิงตัวเลขด้วยคอมพิวเตอร์ ระบบคอมพิวเตอร์ และ ระบบอิเลคทรอนิกส์ จะทำการประมวลผล และ สั่งการเพื่อให้เครื่องจักรทำงาน หรือ เกิดการเคลื่อนที่จากชุดคำสั่งต่าง ๆ หรือ กระทำตามเงื่อนใขที่ถูกกำหนด
หลักการทำงาน ของ CNCการผลิตชิ้นงานจะถูกควบคุมการสั่งการด้วย Computer ประกอบด้วย ระยะของการเคลื่อนที่ต่างๆ หรือ อุปกรณ์อื่น ๆ เช่น หัวกัด Print head ใน 3d Printer ซึ่งจะถูกคำนวณ และ สั่งการจากชุดคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ขั้นต้นจนสิ้นสุดการทำงาน  โดยชุดควบคุมจะได้รับข้อมูลขั้นตอนการทำงาน และ การสั่งการ จากโปรแกรม ที่เราเรียกว่า NC Code หรือ G code (Link) ที่เรารู้จักกัน ซึ่งต้องวางแผนทุกขั้นตอนก่อนทุกครั้ง และ สร้างเป็นโปรแกรม เพื่อให้ชุดควบคุมทำงานได้สำเร็จสำหรับแกนหมุนจะมีตั้งแต่  2 แกน – 12แกน สามารถทำงานได้ 2 มิติ ,และ 3มิติ  โดยทั่วไปจะ สร้างโปรแกรมด้วยคอมพิวเตอร์ และ นำข้อมูลผ่าน Post processor จึงจะได้ NC-CODE มาใช้งาน วัสดุที่นำมาใช้กับ CNC เพื่อสร้างชิ้นงาน เช่น ไม้ , แผ่น Acrylic, พลาสติก, พลาสติกวิศวกรรม ,ทองเหลือง และ อลูมิเนียม เป็นต้น ซึ่งชิ้นงานที่ได้จะเป็นงานในลักษณะ 2 มิติ หรือ 3 มิติ แล้วแต่กำหนด. ขึ้นอยู่กับขนาด และความสามารถของเครื่อง ที่มีความหลาหหลาย



หุ่นยนต์ในงานอุตสาหกรรม


หุ่นยนต์เคลื่อนย้ายสิ่งของ



        หุ่นยนต์อัจฉริยะสำหรับโลจิสติกส์ (Robotics for Logistics) เพื่องานขนถ่าย-เคลื่อนย้ายของแบบอัตโนมัติในคลังสินค้า ตอบโจทย์ระบบการหยิบสินค้า (Picking System) ทำให้การทำงานหยิบชิ้นงานหรือสินค้าแบบต่อเนื่องเป็นเรื่องง่าย ทำได้อย่างรวดเร็วและถูกต้องแม่นยำ จึงทำให้การบริหารคลังสินค้าที่มีออเดอร์และรายการสินค้าจำนวนมากมีประสิทธิภาพสูงสุด

เหมาะสำหรับธุรกิจสินค้าอี-คอมเมิร์ซ (E-Commerce) หรือสินค้าออนไลน์, คลังชิ้นส่วนอะไหล่ที่มีหลากหลายชนิด, และสินค้าอุปโภคบริโภคหรือเวชภัณฑ์ โดยสามารถใช้ได้ทั้งในอุตสาหกรรมผลิต ศูนย์กระจายสินค้าโลจิสติกส์ รวมถึงซุปเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่ ด้วยซอฟท์แวร์ IWMS ที่ใช้สมองกลอัจฉริยะ (AI) ในการทำงาน, ระบบการเคลื่อนย้าย (Moving System) ที่ตอบโจทย์การลำเลียงสินค้าในไลน์การผลิตจาก-ในคลังสินค้า, และระบบการจำแนก (Sorting System) สู่จุดหมายปลายทางที่ถูกต้อง





           

ระบบ AS/RS

ระบบจัดการ และ เรียกคืน วัสดุอัตโนมัติ AS/RS เทคโนโลยีคลังสินค้าอัตโนมัติ AS/RS คลังสินค้าอัตโนมัติ หรือ Automated Storage/Retrieval System...